ใช้หุ่นยนต์แทนคน – เอไอ ถอดบทเรียนจากจีน รับมือโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยเฉพาะใช้เพื่อการฟื้นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม
หากกล่าวถึงการผลิต โดยใช้ระบบอัตโนมัติ และ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ภาคการผลิตของจีนได้ทยอยปรับ ใช้หุ่นยนต์แทนคน และระบบอัตโนมัติ ในภาคการผลิตมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสะสมของจีนในปี 2561 อยู่ที่ราว 650,000 เครื่อง เติบโตเฉลี่ยราว 35% ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2551-2561 ซึ่งกว่า 55% อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเร่งภาคอุตสาหกรรมการผลิตจีน ให้หันมาปรับใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Intelligent manufacturing ซึ่งใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และระบบอัตโนมัติมากขึ้น หรือ ใช้หุ่นยนต์แทนคน เพื่อลดความเสี่ยงของการหยุดชะงักทางธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับต้นทุนแรงงาน ในภาคการผลิตจีนที่เพิ่มขึ้น ในอัตราที่สูงกว่า การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานโดยรวม ประกอบกับโครงสร้างของตลาดแรงงานจีน ที่เผชิญการหดตัวของกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2560 จากการเข้าสู่สังคมสูงวัย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาวะการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตของจีนเริ่มลดลง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับ กระแสติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยลดลงโดยเฉลี่ย 2% ต่อปีระหว่างปี 2559-2561
หากนำมาเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในช่วงเดียวกันอาจพออนุมานได้ว่า การติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 1 เครื่องของจีนสามารถทดแทนแรงงานในภาคการผลิตได้ราว 30 คน เนื่องจากประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เที่ติดตั้งในจีนกว่า 60 ในช่วงระยะเวลาข้างต้น เป็นหุ่นยนต์ประเภทหยิบจับชิ้นงาน (Handling robot) และประเภทงานเชื่อม (Welding robot) ซึ่งสามารถ ใช้หุ่นนยต์แทนคนได้
แม้ว่าในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จีนจะเผชิญการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศเป็นระลอกแต่จากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มข้นและดำเนินการอย่างรวดเร็ว อาจพอจะอนุมานได้ว่า จีนจะสามารถรับมือไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างเป็นวงกว้างอีกครั้ง
บทเรียนที่ได้ จากการรับมือการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพของจีน ในการระบาดระลอกแรก นอกเหนือจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มข้น และดำเนินการอย่างรวดเร็วแล้ว
การนำเอา เทคโนโลยีแห่งอนาคต (Next-generation technologies) โดยเฉพาะนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ(Artificial Intelligence: AI) อย่างเทคโนโลยี Machine learning หรือการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) เข้ามาควบคุมการแพร่ระบาดให้เกิดประสิทธิผลและเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นปกติมากที่สุด (Business-as-usual) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้จีนอยู่ในแนวหน้าของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เอไอ ของจีนในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่น่าสนใจ อาทิ เทคโนโลยี Deep learning สำหรับการประเมินความเป็นไปได้ของการติดเชื้อปอดอักเสบ จากการอ่านภาพเอกซเรย์ทรวงอก โดยใช้ระยะเวลาราว 20 วินาที หรือสั้นกว่าระยะเวลาการวินิจฉัยโดยแพทย์ ถึง 1 ใน 60
รวมไปถึงการประยุกต์ เอไอ เข้ากับเทคโนโลยี Internet of things ในภาคการผลิตแบบอัตโนมัติ ของบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีนในเมืองอู่ฮั่น โดยไม่ต้องอาศัยพนักงานในช่วงเวลาที่มีมาตรการปิดเมือง
ทั้งนี้ การระงับการแพร่ระบาดภายในประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพของจีน ด้วยความช่วยเหลือของ เทคโนโลยีแห่งอนาคต ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของจีนฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว สะท้อนได้จาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ในเดือน พฤษภาคม 2563 ที่จัดทำโดย Caixin กลับขึ้นมาอยู่ที่ 50.7 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง
นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจจะเป็นตัวจุดชนวน ให้การพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาคเศรษฐกิจจริง ให้สอดรับกับบริบทของพฤติกรรมผู้บริโภคของจีน ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเด่นชัดมากขึ้น โดยผู้บริโภคชาวจีนเริ่มลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เป็นทางกายภาพ (Physical activity) ลง
ขณะที่พฤติกรรมการบริโภคและการผลิต เริ่มเน้นออนไลน์ และใช้ ระบบอัตโนมัติ มากขึ้น (Contactless) จะกลายมาเป็น New Normal แทน
แนวทางการพัฒนา นวัตกรรม เอไอ ที่สามารถนำมาประยุกต์กับภาคเศรษฐกิจจริงในอนาคตของจีน อาจครอบคลุมถึง เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ (FinTech) อาทิ การเร่งพัฒนาธนาคารเสมือนจริง อย่าง WeBank ของ Tencent หรือ Mybank ของ อาลีบาบา ที่ใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิทัล ให้กับลูกค้าของธนาคารได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่ง เอไอ สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้
นวัตกรรมการผลิตแบบ Intelligence manufacturing ที่นวัตกรรม เอไอ สามารถนำมาประยุกต์เข้ากับการใช้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และระบบอัตโนมัติ ในภาคการผลิต อาทิ การใช้เทคโนโลยี Machine learning กับระบบ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงานของพนักงาน หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของหุ่นยนต์ ให้เหมาะสมกับข้อจำกัดของเครื่องจักรได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ ความท้าทายทางด้านการจ้างงาน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 หรือบางส่วน ที่อาจมาจากโครงสร้างของตลาดแรงงานจีนเอง ที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจ หันมาปรับใช้ ระบบอัตโนมัติ และ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากขึ้น นับเป็นประเด็นที่จีนหยิบยกขึ้นมารวมอยู่ใน “หกเสถียรภาพ” ที่ทางการจีนให้ความสำคัญในการประชุมสองสภาเมื่อช่วงปลายเดือน พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowJuly 01, 2020 at 08:36AM
https://ift.tt/2NWmfqd
ใช้หุ่นยนต์แทนคน - เอไอ ตัวเร่งการฟื้นเศรษฐกิจจีน หลังโควิด-19 - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/30ijwPc
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ใช้หุ่นยนต์แทนคน - เอไอ ตัวเร่งการฟื้นเศรษฐกิจจีน หลังโควิด-19 - thebangkokinsight.com"
Post a Comment