Search

หุ่นยนต์'แบ่งปัน' โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม - มติชน

hargahandphoneblog.blogspot.com

เชื้อร้ายโควิด-19 ทั่วโลกยังแรงไม่หยุด ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ10 ล้านคน และเสียชีวิตก็เกิน 5 แสนรายแล้ว เมื่อยังไม่มีวัคซีนก็ต้องหาวิธีการต่างๆ ให้ไกลเชื้อไว้ก่อน

แม้สถานการณ์ในไทยจะดีขึ้นมาก แต่ไม่อาจนอนใจ ยังต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง

นอกจากการป้องกันตามมาตรฐานทั่วไปแล้ว ควรมีมาตรการเสริมเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด

องค์กรต่างๆ จึงผนึกกำลัง แชร์ความรู้ และทรัพยากร สร้าง “หุ่นยนต์” ให้เป็นพระรองมาช่วยพระเอก     ชุดกาวน์

อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร เหนือ (มจพ.) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “จีซี” และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม จึงร่วมมือกันพัฒนาหุ่นยนต์ IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) หรือ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” จนสำเร็จ

จากนั้นส่งมอบให้คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ นำ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” ไปปฏิบัติภารกิจช่วยเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) ลดการสัมผัส ป้องกันการติดเชื้อโรค

คุณสมบัติของ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติขับเคลื่อนด้วยระบบล้อแบบเมคคานัม เคลื่อนที่ได้แบบอิสระไม่ว่าจะหมุนรอบตัวเอง หรือเคลื่อนที่แนวทแยงมุม

มีเซ็นเซอร์ที่ประกอบด้วยกล้อง lidar และ ultrasonic สามารถสร้างแผนที่ได้ทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ทำให้แผนที่มีรายละเอียดสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ภายในพื้นที่การทำงาน มีระบบการหลบหลีกสิ่งกีดขวางที่อยู่นิ่ง หรือสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนที่ได้

นอกจากจะใช้นำส่งเวชภัณฑ์ ยา อาหาร หรืออื่นๆ ให้ผู้ป่วยแล้ว ยังมีระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ให้บุคลากรทางการแพทย์พูดคุยสื่อสารกับผู้ป่วยได้ หรือจะเปิดเพลง-วิดีโอช่วยลดความเครียดให้ผู้ป่วยด้วยก็ได้

ผู้ใช้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต เป็นการควบคุมแบบอัตโนมัติ หรือแบบใช้คนบังคับก็ได้

ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ. ให้ข้อมูลว่า เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบความแม่นยำขั้นสูง หรือศูนย์ IRAPs ของ มจพ. และพันธมิตร หุ่นยนต์มีความสามารถในการสร้างแผนที่และจดจำตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงาน เมื่อได้รับคำสั่งจะเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ พร้อมความสามารถในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางในระหว่างการเคลื่อนที่ได้

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท “จีซี” เสริมว่า บริษัทพยายามคิดค้นและนำศักยภาพของบริษัท ทั้งบุคลากร เคมีภัณฑ์ขององค์กรเข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือ และแก้ไขวิกฤตโควิด-19

“หุ่นยนต์แบ่งปัน” นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง “จีซี, KMUTNB (ทีมแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย 8 สมัย) สถาบันวิทยสิริเมธี และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์

นอกจาก “จีซี” สนับสนุนงบประมาณจัดทำหุ่นยนต์แล้ว ยังร่วมหาข้อควรปรับปรุงตัวต้นแบบ หาทางแก้ไขและพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ให้ตรงตามความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์

มีการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ด้วยเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดพิเศษ (PLA) เป็นส่วนประกอบของถาดวางเครื่องมือและอาหารของหุ่นยนต์

ส่วนสถาบันวิทยสิริเมธี สนับสนุนซอฟต์แวร์ สร้างระบบเว็บเพจ บันทึกข้อมูลของคนไข้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สื่อสารกันได้ชัดเจน ไม่ผิดพลาดในการรักษา

ขณะที่กลุ่มบริษัทโปลิโฟม ร่วมออกแบบและสนับสนุนวัสดุในการจัดทำโครงหุ่นยนต์

แม้จะเป็นหุ่นยนต์ที่ดูแข็งทื่อ แต่ภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ “แบ่งปัน” เป็นกุศลธรรมจากฝ่ายต่างๆ ที่ใส่ไว้ในหุ่นยนต์ เพื่อลดภาระและความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้ด้วยดี

Let's block ads! (Why?)




June 30, 2020 at 01:00PM
https://ift.tt/2NIUzol

หุ่นยนต์'แบ่งปัน' โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม - มติชน

https://ift.tt/30ijwPc


Bagikan Berita Ini

0 Response to "หุ่นยนต์'แบ่งปัน' โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.