ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังคงมีความน่าเป็นห่วงอยู่ทั่วโลก ดูได้จากยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละประเทศ ทำให้ทุกวันนี้ประชาคมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต พร้อมกับการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังต่อการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกว่า New Normal และการคิดค้นนวัตกรรมงานวิจัยที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อขณะปฎิบัติงาน โดยคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย รศ.ดร.ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี ผศ.ดร.สถาพร วังฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วยทีมนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นายเชาวริน พงษ์จีน นายนัทธพงศ์ สมตน และนายกฤษณารักษ์ วางกลอน มีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องมือที่ช่วยในการส่งเสริมการปฎิบัติงานและป้องกันการแพร่ระบาด
นวัตกรรม หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบหลายแกน ประยุกต์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC แบบบังคับขับเคลื่อนล้อแมคคานั่มเป็นโครงการภายใต้งานวิจัย “โครงการกิจกรรมสนับสนุนเพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่” ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ บริษัท แมกซ์ แวลู เทคโนโลยี จำกัด โดยมี ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วย ศ.ดร.ปฏิพัทธ์ ทวนทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์เจ้าของงานวิจัย
ได้ส่งมอบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบหลายแกนฯ ให้กับนายนมัส ศรีวานิชภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมกซ์ แวลู เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ตัวต้นแบบได้นำไปใช้งานเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ด้วยการสร้างระบบการฆ่าเชื้อด้วยหลอดรังสี UVC แต่การฆ่าเชื้อจะใช้ปริมาณความเข้มค้นของรังสี เพื่อลดเวลาในการทำงานของการฉายรังสีและสามารถใช้งานได้สะดวกทั่วถึงในสถานที่เป้าหมาย เช่น โรงพยาบาล โรงแรม โรงงาน เป็นต้น หุ่นยนต์ต้นแบบจะสร้างเป็นแบบล้ออิสระ 4 ล้อ ด้วยล้อแมคคานั่ม และควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ให้เป็นไปตามเวกเตอร์ที่กำหนดไว้ แล้วนำสัญญาณมาประมวลผล การใช้คนบังคับในระยะที่ใกล้กับการทำงานของหุ่นยนต์ โดยจะเรียกว่าหุ่นยนต์แบบพื้นฐาน (Platform) ซึ่งในการพัฒนางานวิจัยสามารถที่จะประยุกต์ใช้ และต่อยอดงานหุ่นยนต์ Platform กับงานด้านการลำเลียงยา การส่งอาหาร หรือการเข้าไปรับเสื้อผ้า ขยะ ที่ใช้งานแล้วไปทิ้ง โดยช่วยให้คนที่ปฎิบัติงานลดการสัมผัสในการจับต้องชิ้นนงานนั้นๆ
ทีมผู้วิจัยได้นำหุ่นยนต์ต้นแบบนี้ไปทดสอบการฆ่าเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเดิมฆ่าเชื้อด้วยการพ่นหมอก ผลการทดสอบการฆ่าเชื้อด้วยระบบการฉายรังษี UVC ได้ผลเทียบเคียงกัน และพบว่าการใช้หุ่นยนต์มีความสะดวกรวดเร็วมากกว่าระบบเดิมมาก ในอนาคตทีมผู้วิจัยจะทำการขยายผลและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน ให้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นและปรับปรุงส่วนฐานหุ่นยนต์ให้สามารถใช้งานด้านวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ ในคลังสินค้าและนำไปประยุกต์ใช้งานในโรงงานต่างๆ เป็นระบบเคลื่อนที่อัตโนมัติตามเส้นทางนำแผนที่ต่อไป
September 09, 2020 at 09:07AM
https://ift.tt/33ekgVl
มจพ. คิดค้นนวัตกรรมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ตอบโจทย์ลดสัมผัสโรคโควิด-19 - เดลีนีวส์
https://ift.tt/30ijwPc
Bagikan Berita Ini
0 Response to "มจพ. คิดค้นนวัตกรรมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ตอบโจทย์ลดสัมผัสโรคโควิด-19 - เดลีนีวส์"
Post a Comment