Search

ทีมหุ่นยนต์ มจพ. มอบ "หุ่นแบ่งปัน" ให้ รพ.วชิรพยาบาล ใช้งานสู้โควิด-19 - ไทยรัฐ

hargahandphoneblog.blogspot.com

ทีมหุ่นยนต์ มจพ.และเอกชนผู้สนับสนุน มอบหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการใช้งานทางการแพทย์ในโรงพยาบาล แก่ รพ.วชิรพยาบาล อันจะช่วยให้ จนท.ลดการสัมผัส และความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากคนไข้ได้

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.63 ที่ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นประธานพิธีรับมอบ หุ่นยนต์ IRAPs SHaRE-aGVeR หรือ หุ่นยนต์แบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือทางการแพทย์ จาก ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมทีมคณาจารย์ นักศึกษาผู้วิจัย และภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุน

ศ.ดร.สุรพล เปิดเผยว่า เป็นความร่วมมือจาก มจพ.และภาคส่วนต่างๆ ทั้งสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม และ ม.นวมินทราธิราช ที่นำเทคโนโลยีและความสามารถคนไทย คิดค้นประดิษฐ์นวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ เพื่อลดปัญหาการระบาดโรคร้ายแรง โดยจะนำไปใช้ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จุดเด่น หุ่นยนต์แบ่งปัน นี้สามารถช่วยขนส่งยา เวชภัณฑ์ อาหาร แฟ้มทะเบียนประวัติ รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อให้การสัมผัสระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยโดยตรงมีเพียงเท่าที่จำเป็น อีกทั้งแพทย์ยังสามารถสื่อสารกับผู้ป่วย ผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ตอบโจทย์การใช้กำลังคนในภาวะเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวต่อว่า หุ่นยนต์ตัวนี้ จะเป็นประโยชน์มากหากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถแพร่หลายไปในโรงพยาบาลต่างๆ แม้สถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทยจะดีขึ้น แต่ทางระบาดวิทยาคาดการณ์คลายล็อกดาวน์ของไทยอาจจะมีการระบาดระลอกสองได้ แต่จะรุนแรงมากน้อยและควบคุมได้แค่ไหน เป็นสิ่งที่ทุกโรงพยาบาลต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นนวัตกรรมหุ่นยนต์แบ่งปันนี้มีส่วนสำคัญที่จะช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงสัมผัสผู้ป่วย ไม่เฉพาะโรคโควิด-19 แต่รวมถึงโรคติดเชื้ออื่นๆ ด้วย

ด้าน ศ.ดร.สมฤกษ์ กล่าวว่า มจพ.มีองค์ความรู้ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สะสมมานับ 10 ปี โดยเฉพาะทีมคณาจารย์และนักศึกษาจาก ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบความแม่นยำขั้นสูง หรือ ศูนย์ IRAPs ที่สร้างหุ่นยนต์ร่วมแข่งขันระดับประเทศและระดับโลกมาหลายเวที ผลสำคัญไม่ใช่แค่ตัวรางวัล แต่เรานำมาต่อยอดสร้างหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์ในแวดวงต่างๆ หุ่นยนต์แบ่งปัน นี้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนฮาร์ดแวร์ที่เป็นฐานขับเคลื่อนด้วยระบบเมคคานัม ทำให้เคลื่อนที่ได้แบบอิสระ และส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ ถือเป็นไฮไลต์องหุ่นยนต์ตัวนี้ มีความเป็นอัจฉริยะ เนื่องจากได้บรรจุเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้าไป มีความสามารถในการสร้างแผนที่ และจดจำตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงาน และเมื่อได้รับคำสั่งจะเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ พร้อมกับความสามารถในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางในระหว่างการเคลื่อนที่ได้

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ.กล่าวด้วยว่า ผู้ใช้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต โดยควบคุมแบบอัตโนมัติหรือใช้คนบังคับก็ได้ ถือเป็น New Normal หล่อหลอมหลายศาสตร์มาช่วยพัฒนาให้เกิดหุ่นยนต์ตัวนี้ เป็นต้นแบบที่สามารถต่อยอดเป็นหุ่นยนต์ด้านโลจิสติกส์ เคลื่อนย้ายสิ่งของในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งต้นทุนวัสดุที่ทำประมาณ 3 แสนกว่าบาท ขณะนี้ มจพ.ได้ผลิตมา 2 ตัว อีกตัวส่งมอบให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ได้นำไปใช้แล้ว.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)




June 18, 2020 at 04:49PM
https://ift.tt/2N5YdbN

ทีมหุ่นยนต์ มจพ. มอบ "หุ่นแบ่งปัน" ให้ รพ.วชิรพยาบาล ใช้งานสู้โควิด-19 - ไทยรัฐ

https://ift.tt/30ijwPc


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ทีมหุ่นยนต์ มจพ. มอบ "หุ่นแบ่งปัน" ให้ รพ.วชิรพยาบาล ใช้งานสู้โควิด-19 - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.